วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การพูดด้วยไวยากรณ์ที่ถูกต้องสำคัญขนาดไหน

มีการโต้วาทีในวงสอนภาษาอังกฤษทั่วโลกเรื่องไวยากรณ์ว่าควรสอน 
prescriptive grammar 
(การใช้ภาษาตามกฏเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือพูดง่ายๆว่าภาษาเขียน) 
หรือ 
descriptive grammar 
(เป็นการใช้ภาษาตามที่ใช้กันอยู่จริง หรือพูดง่ายๆว่า ภาษาพูด)

 โดยการโต้วาทีนี้แบ่งเป็นสองฝ่ายคือ 
prescriptivists (นักกำหนดกฎเกณฑ์) 
กับ 
descriptivists (นักอธิบายกฎเกณฑ์) 

 นักกำหนดกฎเกณฑ์จะมีกฎเกณฑ์ชัดเจนที่ตัดสินว่า อะไรถูก อะไรผิด ในขณะที่นักอธิบายกฎเกณฑ์ให้ความสนใจกับการใช้ภาษาตามธรรมชาติของเจ้าของภาษาและพยายามวิเคราะห์และสร้างกฏเกณฑ์ขี้นมารองรับโครงสร้างของภาษาตามที่ใช้กันในภาษาพูด ไม่มีการตัดสินว่าถูกหรือผิด เพราะเชื่อว่าภาษามีมีวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ถ้ามีเจ้าของภาษาที่ใช้คำพูดที่ไม่ถูกต้องตามไวยากรณ์ที่บัญญัติไว้ นักอธิบายกฎเกณฑ์ จะไม่เรียกว่าผิดแต่จะเรียกว่าเป็นการใช้ภาษาเฉพาะแบบ มากว่านั้นเขาอาจจะค้นพบกฎที่อาจจะขัดกับนักกำหนดกฎเกณฑ์ก็ได้นะครับ 

ผมเองคิดว่าทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนสำคัญ แต่นักภาษาศาสตร์ร่วมสมัยส่วนใหญ่มักจะทำวิจัยภายใต้สมมติฐานที่ว่า ภาษาพูด นั้นเป็นหลักพื้นฐาน และมีความสำคัญต่อการศึกษามากกว่าภาษาเขียน เขาใช้เหตุผลว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้การพูดและการประมวลผลภาษาพูดได้ง่ายกว่า และง่ายกว่าการเขียนมากๆ 

ผมคิดว่าที่ประเทศไทยหลายคนมัวแต่เรียน prescriptive grammar อย่างเดียวเพราะเขาเรียนเพื่อจะสอบซึ่งอาจจะทำให้บางคนเครียดเรื่องผิดหรือถูกมากไปหน่อยนะครับ ในทางกลับกันถ้าเป้าหมายของคุณคือที่จะพูดและฟังได้ก็ไม่จำเป็นต้องเจาะลึกในเรื่อง prescriptive grammar ก็ได้ครับ คือสามารถเรียนจากการดูหนัง การดูซีรี่ย์ การฟังเพลง และการรับสื่อภาษาอังกฤษอื่นๆได้ เพราะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันไม่ใช่ข้อสอบที่มีคำตอบที่ผิด มันมีแค่สื่อสารรู้เรื่องกับสื่อสารไม่รู้เรื่องนะครับ แล้วถ้าใช้ภาษาพูดที่อาจจะแหกกฎ prescriptive grammar บ้างก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ตราบใดที่ผู้ฟังเข้าใจนะครับ ยิ่งกว่านั้นอาจจะลองใช้ descriptive grammar เช่นคำสแลงดูบ้างครับ  มันทำให้ฟังดูเป็นเอง บางทีถ้าใช้ prescriptive grammar ในภาษาพูดตลอดเวลาก็อาจจะฟังดูเป็นหุ่นยนต์ได้ครับ  การพูดภาษาอังกฤษควรจะเป็นเรื่องสนุกไม่ใช่เรื่องเครียดนะครับ


1 ความคิดเห็น:

คอร์สออนไลน์